สำนักงานกฎหมาย ด้านก่อสร้าง
รวมสัญญาก่อสร้าง แบบต่างๆ
*แนะนำ*CONSTRUCTION MANAGEMENT CONTRACT สัญญาจ้างบริหารงานก่อสร้าง(มาตรฐาน)ฉบับภาษาอังกฤษ โดยชมรมนักกฏหมายก่อสร้าง
*แนะนำ*สัญญาจ้างเหมาช่วง(มาตรฐาน)โดยชมรมนักกฏหมายก่อสร้าง
*แนะนำ*สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างงานระบบประกอบอาคาร โดยชมรมนักกฏหมายก่อสร้าง
*แนะนำ*สัญญาจ้างบริหารโครงการก่อสร้าง(มาตรฐาน)โดยชมรมนักกฏหมายก่อสร้าง
*แนะนำ*สัญญาจ้างบริหารงานก่อสร้าง(มาตรฐาน)โดยชมรมนักกฏหมายก่อสร้าง
*แนะนำ*สัญญาจ้างออกแบบ(มาตรฐาน)โดยชมรมนักกฏหมายก่อสร้าง
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างบ้าน

ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้รื้อถอนอาคาร แต่จนถึงปัจจุบันกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษา อาคารยังคงเปิดให้บริการ และยังไม่ถูกรื้อถอน (อาคารดิเอทัส The Atas ร่วมฤดี )
ที่มา: สภาองค์กรของผู้บริโภค แก้กฎหมายควบคุมอาคาร : ความปลอดภัยหรือผลประโยชน์? ความพยายามในการ แก้กฎหมายควบคุมอาคาร ของ กทม. ที่อ้างถึง “ความปลอดภัย” แต่ในความเป็นจริงดูเหมือนจะทำให้ความปลอดภัยของประชาชนลดลง นำไปสู่คำถามที่ว่าการปรับเปลี่ยนกฎหมายฉบับนี้ เป็นไปเพื่อความปลอดภัยหรือผลประโยชน์กันแน่ ปัจจุบันกำลังมีการปรับเปลี่ยนกฎหมายอาคารสูงในกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการร่างกฎหมายยังไม่ได้ประกาศใช้ โดยที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้มีการอ้างเหตุผลในการแก้ไขกฎกระทรวงใน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535)

5 ข้อดีของการมีที่ปรึกษางานก่อสร้าง
1.ให้คำปรึกษาแนะนำ สาเหตุหลักก็คือ ผู้ว่าจ้างไม่มีความรู้ประสบการณ์เรื่องงานก่อสร้าง และกังวลว่าจะถูกผู้รับเหมาหลอก ลวงเอาเปรียบ เช่น เมื่อผู้รับเหมาต้องการ ขอแก้ไขแบบแปลน ขอเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง หรือขอเบิกเงิน ล่วงหน้า ในระหว่างการก่อสร้างก่อสร้าง เป็นต้น ที่ปรึกษาจะช่วยอธิบายและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ได้ 2.ระยะเวลาการก่อสร้างมีความรวดเร็ว ที่ปรึกษาจะช่วยควบคุมระยะเวลาก่อสร้าง หรือในกรณีที่คาดหมายได้ว่าการก่อสร้างจะไม่สามารถเสร็จได้ตาม กำหนดเวลา

ทำไมจึงเกิดปัญหาทิ้งงานจากการจ้างเหมาก่อสร้างขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ
มี 5 สาเหตุหลักดังนี้ ( งานจ้างเหมารายย่อย ) 1.หนังสือสัญญา ในบางครั้ง ปัญหาในการทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างรายย่อยอาจมีปัญหามากกว่า การก่อสร้างเสียด้วยซ้ำไป เพราะเขียนไม่เป็นและก็ไม่ประสงค์จะไปจ้างทนายความช่วยเขียนให้ เพราะไม่อยากเสียเงิน ทำให้ไม่ได้เขียนสัญญากัน หรือมีการเขียนสัญญากันแต่ก็เขียนแบบง่ายๆ ไม่ครอบครุม ไม่ชัดเจน เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ต่างฝ่ายต่างมีความเข้าใจกันไปคนละทางสองทาง ปัญหาที่ควรแก้ไขด้วยข้อสัญญา กลับไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้ต้องไปฟ้องร้องกันในศาล 2.การสื่อสาร หรือ RFI (

สัญญาก่อสร้างมาตรฐาน โดยชมรมนักกฎหมายก่อสร้าง คืออะไร
สัญญามาตรฐาน โดยชมรมนักกฎหมายก่อสร้าง เป็นสัญญาที่ได้นำเอาสัญญามาตรฐานต่างประเทศมาเป็นต้นแบบ เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ได้อย่างแพร่หลาย เป็นสัญญาที่ ”ไม่สงวนลิขสิทธิ์” และไม่เสียค่าตอบแทน การที่เรียกว่าสัญญา “มาตรฐาน” ไม่ใช่เพราะมีองค์กรหนึ่งองค์กรใดรับรองความเป็นมาตรฐานแต่อย่างใด และสัญญาทุกฉบับที่ชมรมร่วมกับสถาบันการศึกษา สมาคมวิชาชีพ หรือผู้ทรงคุณวุฒิจัดทำก็ไม่มีองค์กรใดรับรองว่าเป็นสัญญามาตรฐาน คำว่า “มาตรฐาน” ที่ชมรมนำมาเรียก หมายถึง ทำตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ดีที่นิยมทำกันโดยทั่วไปทั้งในต่างประเทศ ( เช่น. FIDIC )