ขโมยเข้าไปในบ้าน  บันไดบ้านที่ทำจากไม้หัก ทำให้ขโมยตกลงมาบาดเจ็บ  จะฟ้องเจ้าของบ้านได้หรือไม่ 

ตอบ : ขโมยสามารถฟ้องร้องต่อศาลให้เจ้าของบ้านรับผิดชอบค่าเสียหายได้  ถ้าพิสูจน์ได้ว่า  บันไดไม้ดังกล่าวชำรุดบกพร่อง  และเจ้าของบ้านปล่อยปะละเลย  ไม่ทำการซ่อมแซมให้แข็งแรงต่อการใช้งาน 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434 วรรคแรก

      ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่องก็ดี หรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอก็ดี  ท่านว่าผู้ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน  แต่ถ้าผู้ครองได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อปัดป้องมิให้เกิดเสียหายฉะนั้นแล้ว ท่านว่าผู้เป็นเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน

ทำไมจึงเกิดปัญหาทิ้งงานจากการจ้างเหมาก่อสร้างขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ

มี 5 สาเหตุหลักดังนี้ ( งานจ้างเหมารายย่อย ) 1.หนังสือสัญญา ในบางครั้ง  ปัญหาในการทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างรายย่อยอาจมีปัญหามากกว่า  การก่อสร้างเสียด้วยซ้ำไป  เพราะเขียนไม่เป็นและก็ไม่ประสงค์จะไปจ้างทนายความช่วยเขียนให้  เพราะไม่อยากเสียเงิน  ทำให้ไม่ได้เขียนสัญญากัน  หรือมีการเขียนสัญญากันแต่ก็เขียนแบบง่ายๆ  ไม่ครอบครุม  ไม่ชัดเจน เมื่อเกิดปัญหาขึ้น  ต่างฝ่ายต่างมีความเข้าใจกันไปคนละทางสองทาง  ปัญหาที่ควรแก้ไขด้วยข้อสัญญา  กลับไม่ได้รับการแก้ไข  ทำให้ต้องไปฟ้องร้องกันในศาล 2.การสื่อสาร หรือ RFI (

Read More »

สัญญาก่อสร้างมาตรฐาน โดยชมรมนักกฎหมายก่อสร้าง คืออะไร

สัญญามาตรฐาน โดยชมรมนักกฎหมายก่อสร้าง เป็นสัญญาที่ได้นำเอาสัญญามาตรฐานต่างประเทศมาเป็นต้นแบบ เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ได้อย่างแพร่หลาย เป็นสัญญาที่ ”ไม่สงวนลิขสิทธิ์” และไม่เสียค่าตอบแทน การที่เรียกว่าสัญญา “มาตรฐาน” ไม่ใช่เพราะมีองค์กรหนึ่งองค์กรใดรับรองความเป็นมาตรฐานแต่อย่างใด และสัญญาทุกฉบับที่ชมรมร่วมกับสถาบันการศึกษา  สมาคมวิชาชีพ  หรือผู้ทรงคุณวุฒิจัดทำก็ไม่มีองค์กรใดรับรองว่าเป็นสัญญามาตรฐาน คำว่า “มาตรฐาน” ที่ชมรมนำมาเรียก หมายถึง  ทำตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไข  ที่ดีที่นิยมทำกันโดยทั่วไปทั้งในต่างประเทศ ( เช่น. FIDIC )

Read More »

ขโมยเข้าไปในบ้าน  บันไดบ้านที่ทำจากไม้หัก ทำให้ขโมยตกลงมาบาดเจ็บ  จะฟ้องเจ้าของบ้านได้หรือไม่ 

ตอบ : ขโมยสามารถฟ้องร้องต่อศาลให้เจ้าของบ้านรับผิดชอบค่าเสียหายได้  ถ้าพิสูจน์ได้ว่า  บันไดไม้ดังกล่าวชำรุดบกพร่อง  และเจ้าของบ้านปล่อยปะละเลย  ไม่ทำการซ่อมแซมให้แข็งแรงต่อการใช้งาน  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434 วรรคแรก       ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่องก็ดี หรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอก็ดี  ท่านว่าผู้ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน  แต่ถ้าผู้ครองได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อปัดป้องมิให้เกิดเสียหายฉะนั้นแล้ว ท่านว่าผู้เป็นเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน

Read More »

ใครต้องรับผิดชอบถ้าผู้รับเหมาก่อสร้าง  ทำของตกใส่บ้านข้างเคียงได้รับความเสียหาย

ผู้รับเหมาก่อสร้าง  ไม่ระวังทำของตกใส่บ้านข้างเคียง  ดังนั้นผู้รับเหมาย่อมต้องรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น  แต่กฏหมายก็มีข้อเอาผิดต่อผู้ว่าจ้างหรือเจ้าของบ้านต้นเหตุได้เช่นกัน  ตัวอย่างเช่น  ผู้ว่าจ้างสั่งให้ผู้รับเหมาขึ้นไปตัดกิ่งไม้  และกิ่งไม้ได้ตกใส่บ้านข้างเคียงได้รับความเสียหาย  ดังนี้ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ  หรือ  ผู้ว่าจ้างได้จ้างช่างประปามาให้ทำการตัดกิ่งไม้  ซึ่งเป็นการเลือกหาช่างที่ไม่ตรงกับลักษณะงาน   ดังนี้ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง

Read More »