ทำไมจึงเกิดปัญหาทิ้งงานจากการจ้างเหมาก่อสร้างขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ

มี 5 สาเหตุหลักดังนี้ ( งานจ้างเหมารายย่อย )

1.หนังสือสัญญา

ในบางครั้ง  ปัญหาในการทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างรายย่อยอาจมีปัญหามากกว่า  การก่อสร้างเสียด้วยซ้ำไป  เพราะเขียนไม่เป็นและก็ไม่ประสงค์จะไปจ้างทนายความช่วยเขียนให้  เพราะไม่อยากเสียเงิน  ทำให้ไม่ได้เขียนสัญญากัน  หรือมีการเขียนสัญญากันแต่ก็เขียนแบบง่ายๆ  ไม่ครอบครุม  ไม่ชัดเจน เมื่อเกิดปัญหาขึ้น  ต่างฝ่ายต่างมีความเข้าใจกันไปคนละทางสองทาง  ปัญหาที่ควรแก้ไขด้วยข้อสัญญา  กลับไม่ได้รับการแก้ไข  ทำให้ต้องไปฟ้องร้องกันในศาล

2.การสื่อสาร หรือ RFI ( Request for information) ในงานก่อสร้าง

การก่อสร้างโครงการใดโครงการหนึ่ง  สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือเรื่อง “คน”  แม้โครงการนั้นจะมีขนาดเล็ก เช่นขนาด 1 ห้องนอน 1ห้องน้ำ พื้นที่ใช้สอยเพียง 20 ตารางเมตร  ก็ต้องมี “คน” เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหลายคน เช่น.ช่างปูน ช่างเหล็ก(หลังคา)  ช่างไฟฟ้า ช่างฝ้า ช่างสี ช่างประปา ช่างประตูหน้าต่าง(อลูมิเนียม) และกรรมกร  เป็นต้น โดยคนกลุ่มนี้ก็อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ  ผู้รับจ้าง(ผู้รับเหมา)  ซึ่งคนในกลุ่มนี้ก็ต้องมีการสื่อสารระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา  และถ้าการสื่อสารดังกล่าว ไม่มีประสิทธิภาพ  คลาดเคลื่อน  คลุมเครือ  และหลงลืม เพราะเป็นการใช้วาจาในการสื่อสาร ดังนั้นผลที่ตามมาก็คือความผิดพลาดและเสียหายของงานขึ้น  และถ้าความเสียหายนั้นรุนแรงมาก  ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง  ที่ส่งผลให้ผู้รับจ้างตัดสินใจทิ้งงานตามมา

การสื่อสารอีกส่วนหนึ่งก็คือ ระหว่างผู้ว่าจ้าง  กับผู้รับจ้าง  ซึ่งในส่วนนี้ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมาก  จากการรวบรวมข้อมูลจาก  ที่ปรึกษางานก่อสร้างส่วนใหญ่แล้ว  พบว่าการสื่อสารด้วยวาจา หรือ  Verbal ในงานก่อสร้าง  เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างทั้งสองฝ่ายขึ้น  เพราะการสื่อสารด้วยวาจาและไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือลายลักษณ์อักษรนั้น  ย่อมเกิดความไม่ชัดเจน  คลาดเคลื่อน   คลุมเครือ  และหลงลืม  เมื่อเกิดปัญหาขึ้นต่างฝ่ายก็ต่างกล่าวโทษซึ่งกันและกัน   จนนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งและทิ้งงานตามมา

3.ผู้รับจ้าง(ฝ่ายผู้รับเหมา)

ผู้รับเหมาบางรายเติบโตมาจากช่าง  หรือพนักงานประจำบริษัทก่อสร้าง  เมื่อสบช่องทางจึงต้องการจะรับงานเอง  ทั้งที่ไม่มีความพร้อมด้านเงินทุน  เมื่อรับงานมาแล้วขาดสภาพคล่อง  ไม่มีเงินจ่ายค่าแรงคนงาน  คนงานก็หนี  หรือไม่มีเงินจ่ายค่าวัสดุ  ทำให้ไม่มีวัสดุมาใช้ทำงานต่อ  จึงทิ้งงานเสีย  และผู้รับเหมาบางรายม่มีความรู้เรื่องการบริหารจัดการด้านการเงิน  ไม่มีการทำบัญชี  หรือนำเงินค่าจ้างเหมามาปะปนกับค่าใช้จ่ายส่วนตัว  หรือใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายเนื่องจากเงินค่างวดในแต่ละงวดมีอัตราจำนวณมาก เมื่อรับเงินมาแล้วก็นำเงินไปใช้จ่ายนอกระบบ

การรับงานในราคาจ้างเหมาที่ต่ำกว่าราคาท้องตลาด  เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีงานจึงต้องรับงานมาทำให้ได้  เพราะต้องการนำเงินมาหนุมก่อน  หรือขาดงานจึงต้องหางานมาเลี้ยงคนงานก่อน  จึงเสี่ยงรับงานมาก่อน  เมื่อได้งานมาแล้วทำไปสักพักก็คิดว่าทำไม่ไหว  จึงทิ้งงาน

ปัญหาเรื่องจำนวนช่างหรือคนงานที่เพียงพอและเหมาะสมกับงาน  การขาดแคลนช่างก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้งานล่าช้า  ส่งงานไม่ทันตามสัญญาจึงเป็นเหตุให้เสียค่าปรับจำนวนมาก  จึงตัดสินใจทิ้งงาน

อีกประเด็นหนึ่งก็เป็นเรื่อง  การทำงานที่ไม่มีคุณภาพ  ใช้ช่างที่มีฝีมือราคาถูก  เร่งงานจนเกินไป  และการใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน  เมื่อผลงานปรากฏขึ้นและต้องแก้ไขงานดังกล่าว  และการแก้ไขงานในแต่ละครั้งก็มีค่าใช้จ่ายติดตามมาจึงกระทบในเรื่องการเงินและระยะเวลาก่อสร้าง  เมื่อรู้ว่าทำไปก็ไม่มีกำไรจึงทิ้งงาน

4.ฝ่ายผู้ว่าจ้าง(เจ้าของโครงการ) 

ในกรณีที่แบบและสัญญาก่อสร้างไม่มี  หรือมีแต่ก็ไม่ละเอียดชัดเจน  ผู้ว่าจ้างบางรายก็มักจะเรียร้องให้ผู้รับเหมาต้องทำในงานนั้น  หรือในส่วนที่ไม่ใช่ความรับผิดชอบของผู้รับเหมา  หรือมีการสั่งงานปรับเปลี่ยนแบบและวัสดุบ่อยครั้งหรือโดยกะทันหัน  มีการเพิ่มงานโดยไม่ให้ค่าจ้างเพิ่ม  เอาเปรียบผู้รับเหมามากเกินควร  หรือจ่ายค่างวดงานล่าช้า  หรือเร่งรัดงานเพื่อให้งานแล้วเสร็จมากเกินไป 

ความคาดหวังที่สูงเกินไป  ในมุมมองความคิดของผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่จะมีแนวความคิดที่ว่า  บ้าน อาคาร ของตนต้องสวยงาม  ทุกอย่างต้องเป็นไปตามมาตรฐาน Perfect ที่สุด  ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการก่อสร้างในทุกที่ไม่ว่ามูลค่าโครงการจะเป็น หลักสิบล้าน  หรือร้อยล้าน หรือแม้กระทั่งโครงการรัฐสภา  ก็ตามก็ไม่มีโครงการไหนสมบูรณ์หรือเป็นไปตามมาตรฐาน Perfect ทุกอย่าง  ด้วยเหตุนี้เอง  ถ้าเจ้าของโครงการไม่เผื่อใจที่จะยอมรับปัญหาเล็กๆน้อยๆที่มักเกิดขึ้นเป็นธรรมดาอยู่แล้ว  เช่น.ปัญหางานฉาบผนังแตกร้าว   

ผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่  ไม่มีความรู้ประสบการณ์ สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะการสร้างบ้านหรืออาคารสักหนึ่งหลัง  ไม่ใช่ว่าจะสามารถทำกันได้บ่อยๆ  บางคนเก็บเงินมาเป็นสิบๆปีจึงจะมีเงินพร้อมเพื่อมาก่อสร้าง  เมื่อผู้ว่าจ้างไม่มีความรู้หรือประสบการณ์  ก็หาความรู้ทางสื่อโซเชี่ยวออนไลน์ต่างๆ  และสิ่งที่ได้ข้อมูลมาก็เป็นเรื่องความเลวร้ายน่ากลัวของผู้รับเหมาเป็นส่วนมาก  จึงเกิดความระแวงวิตกกังกลขึ้น  และเมื่อมีปัญหาหรืออุปสรรค์เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง  ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกๆโครงการต้องมี  เช่น.วัสดุบางรุ่นบางตัวที่ระบุไว้ในสัญญา  ขาดตลาดถ้าจะรอก็ต้องใช้เวลาหลายวัน  ทั้งนี้อย่าลืมว่าของบางอย่างถ้ายังไม่ประกอบเข้าไปงานอื่นก็ไม่สามารถทำต่อได้  หรือวัสดุที่ระบุในสัญญานั้นเลิกผลิตไปแล้วจึงต้องหาวัสดุทดแทน  หรือแบบก่อสร้างกับหน้างานก่อสร้างจริงขัดแย้งกันเป็นต้น  กล่าวคือตลอดช่วงระยะเวลาก่อสร้างนั้นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเนื้องานอยู่แล้วไม่มากก็น้อย  เมื่อผู้ว่าจ้างไม่เผื่อใจไว้หรือไม่รู้ว่าจะตัดสินใจอย่างไร  แต่ถ้าจะให้ผู้รับเหมาตัดสินใจเองไปเลยกลัว  จึงเป็นเหตุให้งานสะดุดลงและอาจขยายไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งได้  จนอีกฝ่ายตัดสินใจทิ้งงาน

5.ไม่มีที่ปรึกษางานก่อสร้างหรือตัวกลางที่จะคอยให้คำแนะนำแก่ทั้งสองฝ่าย

โดยปกติการแต่งตั้งผู้บริหารงานก่อสร้างมักจะใช้กับงานโครงการก่อสร้างขนาดกลาง-ใหญ่  ไม่นิยมใช้กับงานโครงการขนาดเล็ก  เนื่องจากถือว่าเป็นภาระต้นทุนของค่าก่อสร้าง  แต่ถ้าพิจารณาให้ดีแล้วค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษามาช่วยดูแลจัดการแนะนำเรื่องงานก่อสร้างจะมีความคุ้มค่ามากกว่า  หากเทียบกับปัญหาการทิ้งงาน  การทะเลาะเบาะแว้ง  หรือคำแนะนำบางเรื่องอาจช่วยลดต้นทุนจากการก่อสร้างได้อีกด้วย

งานก่อสร้างเป็นงานที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนจำนวนมาก  มีการเกี่ยวข้องกับเงินจำนวนมาก  และใช้ระยะเวลามากด้วย  จึงหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาคงเป็นไปไม่ได้  ทุกโครงการจึงมีปัญหาไม่มากก็น้อย  ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาขึ้นคนที่เกี่ยวข้องก็ต้องมีการเจรจาและปรึกษาหารือกันเพื่อหาทางออกหรือวิธีแก้ไข  การเจรจาและปรึกษาหารือถ้ามีคนกลางที่มีประสบการณ์  มีเหตุมีผลมีความเป็นธรรม  ก็จะเป็นประโยชน์แก่โครงการก่อสร้างนั้นๆได้  ด้วยเหตุนี้ทุกโครงการก่อสร้างควรมีที่ปรึกษาก่อสร้างไว้ค่อยช่วยเหลือ  โดยจะเป็นการจ้างแบบประจำหรือพาร์ทไทม์ก็ได้     

ทำไมจึงเกิดปัญหาทิ้งงานจากการจ้างเหมาก่อสร้างขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ

มี 5 สาเหตุหลักดังนี้ ( งานจ้างเหมารายย่อย ) 1.หนังสือสัญญา ในบางครั้ง  ปัญหาในการทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างรายย่อยอาจมีปัญหามากกว่า  การก่อสร้างเสียด้วยซ้ำไป  เพราะเขียนไม่เป็นและก็ไม่ประสงค์จะไปจ้างทนายความช่วยเขียนให้  เพราะไม่อยากเสียเงิน  ทำให้ไม่ได้เขียนสัญญากัน  หรือมีการเขียนสัญญากันแต่ก็เขียนแบบง่ายๆ  ไม่ครอบครุม  ไม่ชัดเจน เมื่อเกิดปัญหาขึ้น  ต่างฝ่ายต่างมีความเข้าใจกันไปคนละทางสองทาง  ปัญหาที่ควรแก้ไขด้วยข้อสัญญา  กลับไม่ได้รับการแก้ไข  ทำให้ต้องไปฟ้องร้องกันในศาล 2.การสื่อสาร หรือ RFI (

Read More »

สัญญาก่อสร้างมาตรฐาน โดยชมรมนักกฎหมายก่อสร้าง คืออะไร

สัญญามาตรฐาน โดยชมรมนักกฎหมายก่อสร้าง เป็นสัญญาที่ได้นำเอาสัญญามาตรฐานต่างประเทศมาเป็นต้นแบบ เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ได้อย่างแพร่หลาย เป็นสัญญาที่ ”ไม่สงวนลิขสิทธิ์” และไม่เสียค่าตอบแทน การที่เรียกว่าสัญญา “มาตรฐาน” ไม่ใช่เพราะมีองค์กรหนึ่งองค์กรใดรับรองความเป็นมาตรฐานแต่อย่างใด และสัญญาทุกฉบับที่ชมรมร่วมกับสถาบันการศึกษา  สมาคมวิชาชีพ  หรือผู้ทรงคุณวุฒิจัดทำก็ไม่มีองค์กรใดรับรองว่าเป็นสัญญามาตรฐาน คำว่า “มาตรฐาน” ที่ชมรมนำมาเรียก หมายถึง  ทำตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไข  ที่ดีที่นิยมทำกันโดยทั่วไปทั้งในต่างประเทศ ( เช่น. FIDIC )

Read More »

ขโมยเข้าไปในบ้าน  บันไดบ้านที่ทำจากไม้หัก ทำให้ขโมยตกลงมาบาดเจ็บ  จะฟ้องเจ้าของบ้านได้หรือไม่ 

ตอบ : ขโมยสามารถฟ้องร้องต่อศาลให้เจ้าของบ้านรับผิดชอบค่าเสียหายได้  ถ้าพิสูจน์ได้ว่า  บันไดไม้ดังกล่าวชำรุดบกพร่อง  และเจ้าของบ้านปล่อยปะละเลย  ไม่ทำการซ่อมแซมให้แข็งแรงต่อการใช้งาน  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434 วรรคแรก       ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่องก็ดี หรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอก็ดี  ท่านว่าผู้ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน  แต่ถ้าผู้ครองได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อปัดป้องมิให้เกิดเสียหายฉะนั้นแล้ว ท่านว่าผู้เป็นเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน

Read More »

ใครต้องรับผิดชอบถ้าผู้รับเหมาก่อสร้าง  ทำของตกใส่บ้านข้างเคียงได้รับความเสียหาย

ผู้รับเหมาก่อสร้าง  ไม่ระวังทำของตกใส่บ้านข้างเคียง  ดังนั้นผู้รับเหมาย่อมต้องรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น  แต่กฏหมายก็มีข้อเอาผิดต่อผู้ว่าจ้างหรือเจ้าของบ้านต้นเหตุได้เช่นกัน  ตัวอย่างเช่น  ผู้ว่าจ้างสั่งให้ผู้รับเหมาขึ้นไปตัดกิ่งไม้  และกิ่งไม้ได้ตกใส่บ้านข้างเคียงได้รับความเสียหาย  ดังนี้ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ  หรือ  ผู้ว่าจ้างได้จ้างช่างประปามาให้ทำการตัดกิ่งไม้  ซึ่งเป็นการเลือกหาช่างที่ไม่ตรงกับลักษณะงาน   ดังนี้ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง

Read More »